เปิดประเด็น ‘เล่นเรื่องปอด’ด้วยการนำเสนอข้อมูลในหัวข้อ “ปอดมืดตามัว ภัยใกล้ตัวที่มองไม่เห็น” นำเสนอปัญหาต้นตอมลพิษและฝุ่นควันที่กำลังทำลายปอดโดยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และชี้แจงว่าปัจจุบันคนไทยกำลังหายใจนำฝุ่นเข้าปอดเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 2-6 มวนต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอเรื่องของกระแสบุหรี่ไฟฟ้าที่พบมากขึ้นในเด็ก เหตุเพราะความเชื่อผิด ๆ ที่คิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป
📂 เอกสารประกอบการนำเสนอ “ปอดมืดตามัว ภัยใกล้ตัวที่มองไม่เห็น”
นำเสนอข้อมูลงานวิจัยที่ให้ผลตรงกันว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีผลต่อปอด และทำให้เกิดโรคหอบหืด นอกจากนี้ยังกระทบต่อหัวใจ สมองและฟันอีกด้วย โดย WHO ได้ประกาศว่าคุณภาพอากาศประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ากำหนด ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาการไอ เลือดกำเดาไหล หรือภูมิแพ้ โดยในปัจจุบันปอดคนไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงทั้งจากบุหรี่ไฟฟ้าและฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเราควรจะต้องร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนประเด็นนี้ เพื่อผลักดันให้เราทุกคนมีคุณภาพอากาศที่ดีต่อไป
📂 เอกสารประกอบการนำเสนอ “ภัยเงียบทำร้ายปอดจากบุหรี่ไฟฟ้าและฝุ่นในสังคมไทย”
นำเสนอปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชนไทย โดยพบว่าเด็กเริ่มสูบตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เนื่องจากรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูดและกลิ่นที่หอมหวาน ซึ่งจากการสำรวจในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาภาคกลางพบนักเรียน 20 คน เคยใช้และขายบุหรี่ไฟฟ้า สาเหตุมาจากปัญหาเศรษฐกิจ การขาดความรู้ และปัญหาโครงสร้างของสังคมในครอบครัว นอกจากนี้คุณสุรเสกข์ยังได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบ Interactive ชื่อ "บานปลาย" เพื่อให้ความรู้และแนวทางการสื่อสารเชิงบวกสำหรับผู้ปกครองในการรับมือกับปัญหานี้ สามารถรับชมได้ที่ https://toolmorrow.com/portfolio-item/escalate/
📂 เอกสารประกอบการนำเสนอ “บุหรี่ไฟฟ้าบานปลายในบ้านและสังคมไทย”
ถ่ายทอดประสบการณ์กว่า 12 ปีที่ต้องเผชิญกับฝุ่นพิษในจังหวัดเชียงราย ผ่านภาพถ่ายที่สะท้อนชีวิตประจำวันที่ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควัน โดยที่ปัญหาฝุ่นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของครอบครัว ครูมะนาวเล่าว่าลูกสาววัย 5 ขวบมีอาการเลือดกำเดาไหลบ่อยครั้งในวันที่ค่าฝุ่นสูง ภรรยาเริ่มเป็นภูมิแพ้ และยังมีข่าวบุคลากรทางการแพทย์หลายคนในจังหวัดเชียงทางภาคเหนือ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ครูมะนาวตั้งคำถามถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาฝุ่น เพราะอากาศสะอาดควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่เพียงแค่ความโชคดีในวันที่ฝนตก สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของฝุ่นพิษต่อชีวิตประจำวันและสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้มาอย่างยาวนาน
📂 เอกสารประกอบการนำเสนอ “ผมมอง “เขา” ผ่านฟิลเตอร์สีฝุ่น”
นำเสนอปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเมืองใหญ่ โดยยกตัวอย่างกรุงเทพฯ ที่มีบางกระเจ้าเป็นปอดของเมือง แต่ยังคงมีปัญหาฝุ่น PM2.5 หนาแน่นในพื้นที่เมืองและอุตสาหกรรม ซึ่งมักสัมพันธ์กับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สูง คุณธาราจึงตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ในการสร้างเมืองที่รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับอากาศสะอาด และเน้นย้ำว่าปัญหาฝุ่นเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องแก้ไขหลายด้าน ทั้งการออกแบบเมืองและกฎหมาย นอกจากนี้ คุณธารายังชวนให้ประชาชนร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างเมืองปลอดฝุ่น เพื่อให้ทุกคนมีอากาศสะอาดและปลอดภัยในการหาย
📂 เอกสารประกอบการนำเสนอ “Breathe Cities ชีวิตในเมืองที่ปอดของคนหายใจได้”
ตระหนักถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยกว่า 38 ล้านคน และได้ดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างจริงจังตลอด 1 ปีที่ผ่านมา โดยร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น และสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น สสส. มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนผ่านการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบ และปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานให้ทันสมัยตามเทคโนโลยี พร้อมทั้งทำงานร่วมกับภาคีต่างๆ โดยให้การสนับสนุนข้อมูลและสื่อความรู้ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้คนไทยมีสุขภาวะปอดที่แข็งแรงและปลอดภัยต่อไป
📂 เอกสารประกอบการนำเสนอ “สสส.รับมือภัยปอดรูปแบบใหม่”
นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรม AirEx2 ที่ให้ผู้เข้าร่วมงานได้สำรวจความแข็งแรงของสุขภาพปอดผ่านกิจกรรม ladder speed รวมไปถึงการเก็บข้อมูลของผู้ร่วมงาน จากนั้นได้มีการแสดงผลสุขภาพโดยรวมบนเวที ซึ่งจากการรายงานผลความแข็งแรงสุขภาพปอดของผู้เข้าร่วมงาน ThaiHealth Watch 2024 ครั้งที่ 2 ‘เล่นเรื่องปอด’: เมื่อปอดไม่ปลอดภัย…จากฝุ่นพิษและบุหรี่ไฟฟ้า จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีสุขภาพปอดที่ค่อนข้างแข็งแรงและมีแนวโน้มที่ค่อนข้างออกกำลังกายกันเป็นส่วนมาก
ภายในงานยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจคือ ให้ผู้เข้าร่วมงานเลือก "ฟิลเตอร์สีฝุ่น" โดยเลือกจากการตอบคำถามว่า "คุณคิดว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า สถานการณ์เรื่องฝุ่นในประเทศไทยจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร" (ดีขึ้น / ทรงตัว / แย่ลง) ซึ่งผลปรากฏว่า...
เสียงส่วนใหญ่สะท้อนความกังวลว่าสถานการณ์ฝุ่นพิษจะยิ่งเลวร้ายลงในอนาคต แม้ว่าจะมีความหวังจากบางส่วนที่เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพรวมยังคงเต็มไปด้วยความวิตกกังวล
พิเศษกว่าเดิมเพราะปีนี้ สสส. เล่นใหญ่ ชวนทุกคนมาเล่นเรื่องด้วยกันถึง 4 ครั้ง 4 เรื่อง ตลอดทั้งปี 2024 โดยครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 เตรียมพบกับตอน เล่าเรื่อง "เหล้า" ส่วนครั้งที่ 4 จะมาเล่นเรื่องอะไร…ยังไม่เฉลย! รอติดตามไปด้วยกัน
#ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ #ThaiHealthWatchTheSeries #เล่นให้เป็นเรื่อง #เล่นเรื่องปอด